ดัชนีราคาค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน

image_slide: 
Undefined
sub title: 
กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
เนื้อหา: 

     รายงานดัชนีราคาค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนนของไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2565

      กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า รายงานดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน โครงสร้างแบ่งตามกิจกรรมการผลิต (CPA : Classification ofProducts by Activity) ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 8.8 (YoY) สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกัน สาเหตุหลักเป็นผลจาก ราคาน้้ามัน ซึ่งเป็นต้นทุนส้าคัญของการขนส่งยังมีทิศทางทรงตัวในระดับสูง ประกอบกับ เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว ท้าให้ความต้องการขนส่งสินค้าขยายตัว เช่น ความต้องการ ขนส่งสินค้าเพื่อใช้อุปโภคบริโภคในครัวเรือน และในธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม และสถานบริการเพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการขนส่งสินค้า เพื่อใช้ในธุรกิจก่อสร้าง ส่งผลให้ดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน ปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 7.9 ได้แก่ ค่าขนส่งเครื่องจักรและเครื่องมือ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ โลหะขั้นมูลฐาน ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ และเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม และ การประมง สูงขึ้นร้อยละ 17.5ได้แก่ ค่าขนส่งข้าวเปลือก ข้าวโพด หัวมันส้าปะหลังสด สุกรมีชีวิต ไก่ ปลาทะเล และกุ้งสด และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 4.3 ได้แก่ ค่าขนส่ง ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ได้จากการท้าเหมือง (หิน ดิน ทราย) ถ่านหินและลิกไนต์ และสินแร่โลหะ

      ดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน โครงสร้างแบ่งตามประเภทรถ (CVT : Classification of Vehicle Types) ปรับตัวสูงขึ้นในทุกประเภท ได้แก่ รถกระบะบรรทุก สูงขึ้นร้อยละ 13.8 รถพ่วง สูงขึ้น ร้อยละ 11.8 รถบรรทุกเฉพาะกิจ สูงขึ้นร้อยละ 12.4 รถตู้บรรทุก สูงขึ้นร้อยละ 9.7 รถบรรทุกของเหลว สูงขึ้นร้อยละ 10.3 รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว สูงขึ้นร้อยละ 39.9 และรถบรรทุกวัสดุอันตราย สูงขึ้นร้อยละ 5.2 โดยมีปัจจัยหลักจากความต้องการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของภาคการผลิต การค้า และการลงทุนของภาครัฐและเอกชน รวมถึงธุรกิจการค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

รายละเอียด..........