ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้า

image_slide: 
Undefined
sub title: 
กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
เนื้อหา: 

รายงานดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของไทย เดือนมกราคม 2564

กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้ากระทรวงพาณิชย์ รายงานดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของไทย เดือนมกราคม 2564 ดังนี้

       ดัชนีราคาส่งออก เดือนมกราคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 3.5 (YoY) ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น แม้จะมีปัจจัยกดดันจากการแพร่ระบาดของโควิด-19สายพันธุ์โอมิครอน ประกอบกับฐานราคาที่อยู่ในระดับต่่าของปีก่อนหน้า ยังคงเป็นปัจจัยส่าคัญที่ท่าให้ดัชนีราคาส่งออกขยายตัว โดยหมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 41.0จากความต้องการใช้ที่สูงขึ้นและผลผลิตประเทศส่าคัญยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.6 จากอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปและน้่าตาลทราย ตามราคาวัตถุดิบอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น และผลผลิตน้่าตาลของประเทศผู้ผลิตส่าคัญยังคงต่่ากว่าระดับปกติและหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.3จากสินค้ารถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ โดยได้รับอานิสงส์จากความต้องการที่ขยายตัวของประเทศคู่ค้า รวมถึงบางสินค้าเกี่ยวเนื่องกับราคาน้่ามันที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สาหรับหมวดสินค้าเกษตรกรรม ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางกลุ่มสินค้าส่าคัญ โดยกลุ่มสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันส่าปะหลัง ยางพารา และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง จากความต้องการน่าเข้าเพื่อการบริโภคและใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคาลดลง โดยเฉพาะข้าว เนื่องจากฐานสูงในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ราคาเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ากลับมาเพิ่มสูงขึ้น หลังจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าเริ่มปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับผลผลิตในประเทศลดลง

       ดัชนีราคานำเข้า เดือนมกราคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 11.3 (YoY) ทั้งนี้ หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานาเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 52.9 ได้แก่ น้่ามันดิบ และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามภาวะราคาน้่ามันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสาเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 6.8 ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ตามราคาน้่ามันที่ปรับตัวสูงขึ้น ปุ๋ย จากการจ่ากัดการส่งออกของจีน ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 4.1 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสารที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีเทคโนโลยีที่สูงขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 3.2 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการท่างานที่บ้าน เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ จากความต้องการใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 4.1 ได้แก่ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์นั่ง

       แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก ในช่วงที่เหลือของปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยสนับสนุนให้ราคาสูงขึ้น ประกอบด้วย 1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง 2) ราคาน้่ามันมีแนวโน้มทรงตัวระดับสูง โดยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากกรณีความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย 3) ต้นทุนผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศยังทรงตัวระดับสูง 4) ความต้องการสินค้ากลุ่มอาหาร และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง 5) สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ยังอยู่ในกระแสความต้องการของตลาด และ 6) สินค้าเกษตรส่าคัญมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี

       แนวโน้มดัชนีราคานาเข้า ในช่วงที่เหลือของปี 2565 คาดว่าขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาเช่นกัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนให้ราคาสูงขึ้นจาก 1) ราคาน้่ามันมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปี 2564 2) ราคาวัตถุดิบที่ส่าคัญในตลาดโลก มีแนวโน้มทรงตัวระดับสูง 3) ราคาสินค้าคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวสูงขึ้น ตามผู้ผลิตรายส่าคัญของโลกที่มีแนวโน้มปรับขึ้นราคาสินค้า และ 4) ต้นทุนการขนส่งระหว่างประเทศยังทรงตัวระดับสูง

       

รายละเอียด.....