ดัชนีราคาผู้บริโภค

image_slide: 
Undefined
sub title: 
กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
เนื้อหา: 

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2567

 

       ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เท่ากับ 107.22 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ -0.77 (YoY) เป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 แต่ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า (มกราคม 2567 ลดลงร้อยละ -1.11) โดยมีปัจจัยสำคัญจากการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะเนื้อสุกรและผักสด เนื่องจากอุปทานในตลาดเพิ่มขึ้น และกลุ่มพลังงาน
ตามการลดลงของราคาน้ำมันดีเซลและค่ากระแสไฟฟ้า จากนโยบายช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 0.22 (MoM) จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ผลไม้สด เนื่องจากความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ตามสถานการณ์พลังงานในตลาดโลก และราคาค่าบริการ อาทิ ค่าโดยสารเครื่องบิน ค่าห้องพักโรงแรม ค่าบริการล้างรถ เป็นต้น และเมื่อเทียบเฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค. – ก.พ.) 2567 ลดลงร้อยละ -0.94 (AoA)

     ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.43 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.02 (MoM) และเมื่อเทียบเฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค. – ก.พ.) 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.47 (AoA)

                  

รายละเอียด......

 

คำชี้แจงการปรับปรุงดัชนีราคาผู้บริโภค ปีฐาน 2562

              กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โดยกองดัชนีเศรษฐกิจการค้า เป็นหน่วยงานที่จัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเผยแพร่เป็นประจำทุกเดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้วัดภาวะคาครองชีพ ของประชาชนและอัตราเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งได้มีการพัฒนาปรับปรุงฐานกำรคำนวณเงินเฟ้อ เป็นประจำต่อเนื่องทุกๆ 4 – 5 ปี ในปี 2564 ได้ดำเนินการปรับปรุงปีฐานการคำนวณเงินเฟ้อ จากปี 2558 เป็นปี 2562 ซึ่งเป็นการพัฒนาปรับปรุงครั้งที่ 11 นับตั้งแต่เริ่มใช้ผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงำานสถิติแห่งชาติเป็นข้อมูลในการจัดทำโครงสร้างน้ำหนักค่าใช้จ่ายและรายการสินค้าในกำรคำนวณ เพื่อให้ดัชนีมีความทันสมัยและสอดคล้องกับโครงสร้างและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนใหญ่ มีการปรับปีฐานการคำนวณเงินเฟ้อเป็นประจำทุก 4 - 5 ปี และเป็นไปตามมติเห็นชอบของคณะกรรมการพัฒนาการจัดทำดัชนี ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยเพื่อกำรพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ และหน่วยงานที่นำข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคไปใช้ประโยชน์  

รายละเอียด......