ดัชนีราคาผู้บริโภค

image_slide: 
Undefined
sub title: 
กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
เนื้อหา: 

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนตุลาคม 2566

 

        ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนตุลาคม 2566 เท่ากับ 107.72 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ -0.31 (YoY) เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 25 เดือน (สิงหาคม 2564 ลดลงร้อยละ -0.02) โดยมีปัจจัยสำคัญจากมาตรการลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนของภาครัฐ ส่งผลให้ราคาสินค้าสำคัญลดลง ได้แก่ สินค้าในกลุ่มพลังงาน (ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันดีเซล) และค่าโดยสารรถไฟฟ้า นอกจากนี้ ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จากราคาเนื้อสุกร เครื่องประกอบอาหาร และผักสด เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ราคาผักสดแม้จะต่ำกว่าปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าราคาปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม อีกทั้งมีความต้องการในการบริโภคเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อลดลง ร้อยละ -0.28 (MoM) และเมื่อเทียบเฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค. – ต.ค.) 2566 สูงขึ้นร้อยละ 1.60 (AoA)

        ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.66 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.08 (MoM) และเฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค. – ต.ค.) 2566 สูงขึ้นร้อยละ 1.41 (AoA)

                  

รายละเอียด......

 

คำชี้แจงการปรับปรุงดัชนีราคาผู้บริโภค ปีฐาน 2562

              กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โดยกองดัชนีเศรษฐกิจการค้า เป็นหน่วยงานที่จัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเผยแพร่เป็นประจำทุกเดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้วัดภาวะคาครองชีพ ของประชาชนและอัตราเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งได้มีการพัฒนาปรับปรุงฐานกำรคำนวณเงินเฟ้อ เป็นประจำต่อเนื่องทุกๆ 4 – 5 ปี ในปี 2564 ได้ดำเนินการปรับปรุงปีฐานการคำนวณเงินเฟ้อ จากปี 2558 เป็นปี 2562 ซึ่งเป็นการพัฒนาปรับปรุงครั้งที่ 11 นับตั้งแต่เริ่มใช้ผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงำานสถิติแห่งชาติเป็นข้อมูลในการจัดทำโครงสร้างน้ำหนักค่าใช้จ่ายและรายการสินค้าในกำรคำนวณ เพื่อให้ดัชนีมีความทันสมัยและสอดคล้องกับโครงสร้างและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนใหญ่ มีการปรับปีฐานการคำนวณเงินเฟ้อเป็นประจำทุก 4 - 5 ปี และเป็นไปตามมติเห็นชอบของคณะกรรมการพัฒนาการจัดทำดัชนี ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยเพื่อกำรพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ และหน่วยงานที่นำข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคไปใช้ประโยชน์  

รายละเอียด......