ดัชนีราคาผู้บริโภค

(CONSUMER  PRICE  INDEX)

 

1.   แนวความคิดในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค

 

                  ดัชนีราคาผู้บริโภคกำเนิดขึ้นจากความต้องการศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว  และการวัดระดับการครองชีพของประชากร   เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

                  แนวความคิดพื้นฐานของดัชนีราคาผู้บริโภค   พัฒนามาจากแนวความคิดของดัชนี     ค่าครองชีพ  (COST  OF  LIVING  INDEX)   ซึ่งต้องการวัดค่าใช้จ่ายในการบริโภคของผู้บริโภคในเดือนหนึ่ง ๆ  โดยยังคงรักษามาตรฐานการครองชีพตามระดับที่กำหนดไว้ได้  ซึ่งเป็นไปได้ยาก
ในทางปฏิบัติ    เนื่องจากมาตรฐานการครองชีพยังขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ  ได้แก่ รายได้ จำนวนสมาชิกในครอบครัว  ภาษี  คุณภาพสินค้า  เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปและราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลง      

              ดังนั้น  ด้มีการนำดัชนีราคาผู้บริโภคให้มีปริมาณและลักษณะของสินค้าคงที่  แต่เปลี่ยนแปลงเฉพาะราคาสินค้าเท่านั้น แก้ปัญหานี้โดยการกำหนดให้กลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ประชาชนใช้บริโภคคงที่ แทนการกำหนดให้มาตรฐานการครองชีพคงที่และวัดค่าใช้จ่ายในการบริโภคของเดือนหนึ่ง ๆ   เพื่อผู้บริโภคยังคงบริโภคสินค้าและบริการอย่างเดิม   ถึงแม้ดัชนีราคาผู้บริโภคจะไม่สามารถแทนดัชนีค่าครองชีพได้อย่างสมบูรณ์     แต่อาจกล่าวได้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นตัวประมาณค่าดัชนีค่าครองชีพได้ดีในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการบริโภค

 

2. ประวัติการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคในประเทศไทย

 

                  การจัดทำดัชนีราคาในประเทศไทย ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.. 2486  โดยกรมการสนเทศ  แต่เป็นการจัดทำเพื่อใช้ภายในหน่วยงานราชการ
เท่านั้น  ต่อมาได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเป็นลำดับจนได้เผยแพร่ครั้งแรก ปี พ.. 2491  โดยใช้ปี 2491 นี้เป็นฐาน

                  ในการพัฒนาปรับปรุงการจัดทำดัชนีราคา จนมาเป็นดัชนีราคาผู้บริโภคในปัจจุบันนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

              ระยะที่ 1  ระยะเริ่มต้น  (ปี 2486 - 2504)

                  -  ดัชนีค่าครองชีพ

                     ได้มีการจัดทำดัชนีราคา  ที่เรียกว่า ดัชนีค่าครองชีพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายของคนงาน  และข้าราชการที่มีรายได้น้อยในกรุงเทพฯ  มีรายการสินค้าที่สำรวจเพียง  21  รายการเท่านั้น  ดัชนีชุดนี้มีการคำนวณเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2491  และพัฒนามาเป็นดัชนีราคาผู้บริโภคในปัจจุบัน

-  ดัชนีราคาขายปลีก

   ได้มีการคำนวณดัชนีราคาอย่างง่าย ๆ โดยไม่มีการถ่วงน้ำหนัก  เป็นราคาเฉลี่ยสัมพัทธ์

ของสินค้า  58  ชนิด  ที่ซื้อขายในกรุงเทพฯ  โดยดัชนีชุดนี้มีการจัดทำตั้งแต่ปี 2491 ถึงปี 2505

 

              ระยะที่  2  ระยะพัฒนา  (ปี  2505 – 2519)

                  ในช่วงต้นของยุคนี้ได้มีการปฏิรูป   การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศไทย    ครั้งใหญ่  ให้มีการจัดทำตามระบบสากลมากขึ้น  การปฏิรูปครั้งนั้นประสบความสำเร็จเนื่องจากปัจจัย  2  ประการ  คือ

1.      สำนักงานสถิติแห่งชาติ  ได้เริ่มสำรวจรายจ่ายของครอบครัวในเขตกรุงเทพ ฯ  และ

ธนบุรีในปี 2505   ซึ่งกรมการสนเทศได้นำข้อมูลดังกล่าวมาคำนวณน้ำหนักในการทำดัชนีราคา   ผู้บริโภค   และได้อาศัยข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ   มาใช้ในการจัดทำและปรับปรุงดัชนีราคาผู้บริโภคมาจนถึงปัจจุบัน

2.      ในปี  2505  รัฐบาลไทยได้รับความช่วยเหลือจากประเทศสหรัฐอเมริกา ให้นาย

แอบเนอร์  เฮอร์วิซ  (Mr.Abner   Hurwitz)   ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติมาช่วยปรับปรุงงานสถิติให้แก่สำนักงานสถิติแห่งชาติ  และในโอกาสนี้ก็ได้
มาช่วยให้คำแนะนำ   และปรับปรุงการจัดทำดัชนีราคาของกรมการสนเทศด้วย   โดยการนำผลการสำรวจค่าใช้จ่ายในปี  2505  มาใช้ 
และเพิ่มรายการสินค้า
เป็น   232   รายการ  และเปลี่ยนชื่อจากดัชนีราคาค่าครองชีพ  มาเป็นดัชนีราคาผู้บริโภคด้วย  นอกจากนี้ได้ยกเลิก
การจัดทำดัชนีราคาขายปลีก  และต่อมาในปี  2507  ได้ขยายขอบเขตการจัดทำดัชนีราคาให้ครอบคลุมไปสู่ภูมิภาคทั้ง 4 ภาค   โดยเพิ่มจังหวัด
ที่มีการสืบราคาอีก  20 จังหวัด

 

              ระยะที่  3  ระยะสืบสานและก้าวหน้า  (ปี  2519 – ปัจจุบัน)

                  ระยะนี้เป็นระยะที่มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเข้าสู่ระบบสากลแล้ว   มีการปรับปรุงน้ำหนัก และรายการสินค้าเป็นระยะ ๆ   เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป  มีการปรับปรุงการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาตามวิทยาการที่
ก้าวหน้าขึ้น

                  มีการปรับปรุงน้ำหนักและรายการสินค้า  ดังนี้

1.      ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักและรายการสินค้า   โดยใช้ข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่าย 

ครัวเรือน   ปี 2519  และเปลี่ยนปีฐานเป็นปี  2519  ลดรายการสินค้าที่ใช้คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคจาก  232 รายการ  เหลือ  214  รายการ  และเพิ่มจังหวัดที่จัดเก็บราคาในภูมิภาคเป็น  24 จังหวัด

2.      ในปี  2528  ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักที่ใช้ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคใหม่

โดยใช้ข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือนปี 2524 และเรียกดัชนีราคาผู้บริโภคเดิมว่า ดัชนีราคา       ผู้บริโภคทั่วไป  เพื่อให้แตกต่างจากดัชนีราคาผู้บริโภคที่จัดทำใหม่อีก  2  ชุด  คือ  ดัชนีราคาผู้บริโภค

รายได้น้อย และดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท   เพิ่มจำนวนรายการสินค้าเป็น  216  รายการ   ปีฐานยังคงใช้ ปี  2519

3.      ปี  2533   ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักอีกครั้งหนึ่งโดยใช้ข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่าย

ครัวเรือน   ปี  2529  ด้วย  มีการเพิ่มรายการสินค้าเป็น  238  รายการ  และขยายจังหวัดที่จัดเก็บราคาในส่วนภูมิภาคเป็น  37  จังหวัด

4.      ปี 2538 ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักตามข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือนปี  2533 

และเปลี่ยนปีฐานเป็นปี  2533   และมีการเปลี่ยนแปลงรายการสินค้า  (เพิ่มและลดสินค้าบางรายการ)  เป็น  248  รายการ

5.      ในปี   2540   ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักตามข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือน  

ปี  2537   และเปลี่ยนปีฐานเป็นปี  2537  และปรับเปลี่ยนรายการสินค้าเป็น  260  รายการ  โดยเฉลี่ยของทั้งกรุงเทพและภูมิภาค  4  ภาค

6.      ในปี 2545  ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักและรายการสินค้า โดยใช้ข้อมูลการสำรวจค่าใช้

จ่ายครัวเรือน ปี 2541  เป็นปีฐาน และมีการเปลี่ยนแปลงรายการสินค้า จาก 260 รายการ เป็น 326 รายการ ( มีรายการเพิ่มขึ้น 65 รายการ
และลดลง 15 รายการ  โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 50 รายการ เมื่อเทียบกับ
ปี 2537 )

7.      ในปี 2548 ปรับปรุงน้ำหนักค่าใช้จ่ายและรายการสินค้าใหม่ ตามการสำรวจค่าใช้จ่าย

ของครัวเรือนปี 2545  ซึ่งเริ่มเผยแพร่ตั้งแต่เดือนมกราคม  2548 เป็นต้นไป  มีการเปลี่ยนแปลง              รายการสินค้าจาก 326 รายการ เป็น
373 รายการ  (มีรายการเพิ่มขึ้น 47 รายการ โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 19 รายการ  หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม
เพิ่มขึ้น 28 รายการ)

                        สรุป  นับตั้งแต่ได้มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อปี 2505  ได้มีการปรับน้ำหนัก  7  ครั้ง  ปรับปีฐาน  6  ครั้ง  ดังนี้

 

 

ปี

ข้อมูลการสำรวจฯ ปี

ปีฐาน

รายการสินค้า

เริ่ม

2505 – 2518

2505

2505

232

ปรับครั้งที่  1

2519 – 2523

2519

2519

214

ปรับครั้งที่  2

2524 – 2528

2524

2519

216

ปรับครั้งที่  3

2529 – 2533

2529

2529

238

ปรับครั้งที่  4

2533 – 2537

2533

2533

248

ปรับครั้งที่  5

2537 – 2544

2537

2537

260

ปรับครั้งที่ 6

2545 – 2547

2541

2541

326

ปรับครั้งที่ 7

2548 - ปัจจุบัน

2545

2545

373

หมายเหตุ   ปีฐาน  คือ  ปีที่กำหนดให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเท่ากับ  100

 

3. ขั้นตอนการจัดทำ

 

                  3.1         ความหมายของดัชนีราคา

                        ดัชนีราคาผู้บริโภค  เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ  โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไป   สำหรับกลุ่มสินค้าและ
บริการที่กำหนด

                        กลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด  มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market  Basket) คือ กลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ  การจัดตะกร้าสินค้านั้น  ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

                        การวัดการเปลี่ยนแปลงในราคานั้น  จะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น   ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year)  ในทางปฏิบัติ   ปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ  100

                        น้ำหนัก  (Weight)  เป็นคำที่ควรทราบในเรื่องดัชนีราคา   หมายถึงการให้ความสำคัญของสินค้าแต่ละรายการในตะกร้าสินค้าแตกต่างกัน   เพราะในการทำดัชนีราคาจะใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าทุกรายการในตะกร้าสินค้า   สินค้าที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการบริโภคมากจะ
มีความสำคัญมาก  นั่นคือ   มีน้ำหนักมาก   การจัดทำน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าสินค้าก็จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคเช่นกัน

 

3.2                        กำหนดวัตถุประสงค์และลักษณะครัวเรือนดัชนีราคา

                        ในการจัดทำดัชนีราคา  ขั้นแรกและสำคัญที่สุด คือ  การกำหนดวัตถุประสงค์ ให้ชัดเจนว่าดัชนีราคาที่จัดทำมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
ต้องการวัดหรือชี้อะไร  สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน
ได้กำหนดกรอบลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้วัด  เป็น 3 ชุด  ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกัน  ดังนี้

1.      ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป  ประกอบด้วย

-     ครัวเรือนที่ตั้ง  อยู่ ในเขตเทศบาลเมือง  4 ภาค  กรุงเทพ  และปริมณฑล

-          มีสมาชิกในครัวเรือน ตั้งแต่  1 - 5  คน

                              -     มีรายได้  ตั้งแต่  3,000 – 60,000  บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือน

2.     ดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย  ประกอบด้วย 

-     ครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง  4  ภาค  กรุงเทพและปริมณฑล

                              -     มีสมาชิกในครัวเรือนตั้งแต่  1 - 5 คน

                              -     มีรายได้ตั้งแต่  3,000 – 15,000  บาท  ต่อเดือนต่อครัวเรือน

                        3.   ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท  ประกอบด้วย

                              -     ครัวเรือนที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล  ภูมิภาค  4  ภาค

                              -     มีสมาชิกในครัวเรือนตั้งแต่  2 - 6  คน

                              -     มีรายได้ตั้งแต่  2,000 – 25,000  บาท  ต่อเดือนต่อครัวเรือน

 

                  3.3  การสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี

                        ในการสร้างดัชนีราคาผู้บริโภคจำเป็นต้องทำการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีซึ่งได้กำหนดกรอบไว้เรียบร้อยแล้ว    เพื่อต้องการทราบสินค้าและบริการที่ครัวเรือนต่าง ๆ ใช้จ่ายในการดำรงชีพเป็นอย่างไร    เพื่อนำไปใช้เป็นน้ำหนักที่จะให้ความสำคัญมากน้อยแก่สินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้จ่ายไปตามลำดับ    ซึ่งมีผลทำให้ทราบถึงลักษณะการดำรงชีพของประชากรในระดับต่าง ๆ เกี่ยวกับรายได้  รายจ่าย    และการออมและเกี่ยวเนื่องถึงลักษณะการบริโภคและ     ชี้วัดความเป็นอยู่ของพลเมืองส่วนใหญ่ว่ามีลักษณะการบริโภคและการดำรงชีพอย่างไร

                        ในการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในประเทศไทยจะจัดทำโดยสำนักงานสถิติ
แห่งชาติ 
และกระทรวงพาณิชย์จะนำผลการสำรวจมาใช้ในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค

 

3.4                        การจัดทำน้ำหนัก  (Weight)  และความสำคัญเปรียบเทียบ  (Relative   importance)

ของรายการสินค้า

                        ดัชนีราคาผู้บริโภคคำนวณจากค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงราคาของรายการ      สินค้าต่าง ๆ  ในพื้นที่    แต่เนื่องจากรายการสินค้าแต่ละรายการมีความสำคัญไม่เท่ากัน  ขึ้นกับ      ค่าใช้จ่ายที่ผู้บริโภคใช้จ่ายและจำนวนผู้บริโภคที่ใช้จ่ายในรายการนั้น ๆ   รายการสินค้าที่มีการ       ใช้จ่ายในการบริโภคมากจะมีความสำคัญมาก   ในทางตรงกันข้ามราคาสินค้าที่มีการใช้จ่ายในการบริโภคน้อยก็มี
ความสำคัญน้อย

                        ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของแต่ละรายการสินค้าที่ได้จากการสำรวจ   จะนำมาคำนวณเปรียบเทียบสัดส่วนกัน   เพื่อหาน้ำหนักของแต่ละ
รายการสินค้า   รายการสินค้าที่มีค่าใช้จ่ายมากจะมีน้ำหนักมาก   รายการสินค้าที่มีค่าใช้จ่ายน้อยจะมีน้ำหนักน้อย    น้ำหนักของแต่ละรายการสินค้าในปีฐานจะคงที่ตลอดการคำนวณดัชนีราคาจนกว่าจะมีการจัดทำน้ำหนักใหม่จึงจะ
เปลี่ยนแปลงอีกครั้ง
หนึ่ง

                        ส่วนความสำคัญเปรียบเทียบนั้น  เป็นการเปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในรายการสินค้าต่าง ๆ ในเดือนหนึ่ง ๆ  ที่เกิดขึ้น   ค่าใช้จ่ายนี้คำนวณจากปริมาณการบริโภคสินค้า  (หรือน้ำหนักของรายการสินค้าซึ่งกำหนดให้คงที่)  คูณกับราคาสินค้านั้น ๆ    ที่เปลี่ยนแปลงไปใน
แต่
ละเดือน   ฉะนั้นความสำคัญเปรียบเทียบของแต่ละรายการสินค้าจะเปลี่ยนแปลงทุกเดือนด้วย             ส่วนจะเปลี่ยนแปลงมากน้อยขึ้นกับอัตรา
การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านั้น ๆ ในแต่ละเดือน   สินค้า      ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาสูงกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยของราคาสินค้า
ทั้งหมดในตะกร้าสินค้า  สินค้านั้นก็จะมีความสำคัญเปรียบเทียบเพิ่มขึ้น    ในทางตรงข้ามสินค้าที่มีอัตราการ
เปลี่ยนแปลงราคาต่ำกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงโดยเฉลี่ยของราคาสินค้าทั้งหมดในตะกร้าสินค้า    สินค้านั้นจะมีความสำคัญเปรียบเทียบลดลง

                  การคำนวณความสำคัญเปรียบเทียบของรายการสินค้าในแต่ละเดือน    จะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงราคาของรายการ
สินค้านั้น ๆ   ต่อดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งหมดในเดือนหนึ่ง ๆ

 

                  ขั้นตอนในการจัดทำน้ำหนัก  มีดังนี้

1.      ให้น้ำหนักขั้นต้นแก่รายการสินค้าที่ถูกคัดเลือกตามค่าใช้จ่ายที่ได้จากการสำรวจ      

ผู้บริโภค

2.      ให้น้ำหนักหรือค่าใช้จ่าย ของแต่ละรายการสินค้าที่ไม่ถูกคัดเลือกเข้าไปรวมกับ

น้ำหนักของรายการที่ถูกคัดเลือกตามวิธีการ  ดังนี้

                        -     การรวมน้ำหนักโดยตรง  คือ  การเอาน้ำหนักของรายการที่ไม่ถูกคัดเลือกไปรวมกับรายการที่ถูกคัดเลือกโดยตรง    โดยมีข้อแม้ว่ารายการที่นำไปรวมด้วยนั้นจะต้องมีลักษณะ
ใกล้เคียงกัน  เช่น  น้ำมันพืชกับน้ำมันหมู  และที่สำคัญ คือ ควรมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงราคาไปในทางเดียวกัน

            ในทางปฏิบัติบางทีจะมีการพิจารณาด้วยว่า   เมื่อรวมน้ำหนักของรายการสินค้า

ที่ไม่ถูกคัดเลือกเข้าไป   จะต้องไม่ทำให้รายการสินค้าที่ถูกเพิ่มน้ำหนักมีน้ำหนักมากเกินไป    เพราะอาจจะทำให้รายการสินค้านั้นมีความสำคัญมาก
เกินความเป็นจริง    ส่งผลให้ความเคลื่อนไหวของราคาสิน
ค้านั้น ๆ  กระทบต่อความเปลี่ยนแปลงของดัชนีมากเกินไป

       -    การรวมน้ำหนักโดยอ้อม    คือการเฉลี่ยน้ำหนักของรายการสินค้าที่ไม่ถูกคัดเลือก

ไปให้รายการสินค้าทุกรายการที่ถูกคัดเลือกในหมวดเดียวกันตามสัดส่วนน้ำหนักเดิมของสินค้านั้น   บางรายการสินค้าไม่เข้าหลักเกณฑ์การรรวมน้ำหนักโดยตรงก็จะใช้การเฉลี่ยน้ำหนักโดยวิธีนี้

                  3.   คำนวณน้ำหนักขั้นสุดท้าย   โดยแต่ละหมวดจะเหลือเฉพาะรายการสินค้าที่ถูก    คัดเลือกและน้ำหนักสุดท้ายคือ   น้ำหนักหรือค่าใช้จ่ายในรายการนั้นที่ได้จากการสำรวจ   รวมกับน้ำหนักที่ได้เพิ่มมาจากข้อ 2  (ในกรณีที่มีการรวมน้ำหนักเกิดขึ้น)  ผลรวมของน้ำหนักจากทุกรายการสินค้าในทุกหมวดจะต้องเท่ากับค่าใช้จ่ายรวมของผู้บริโภคที่ได้จากการสำรวจ

                        น้ำหนักที่คำนวณของแต่ละรายการสินค้าจะคงที่  และใช้ตลอดการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคนั้น  จนกว่าจะมีการปรับปรุงรายการสินค้าและน้ำหนักจากการสำรวจค่าใช้จ่ายในการบริโภคครั้งใหม่

 

3.5                        การจัดหมวดหมู่สินค้า

                        โดยทั่วไปสินค้าที่นำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศต่าง ๆ  รวมทั้งประเทศไทย  จะแยกออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้  7  หมวด  คือ

1.      หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2.      หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า

3.      หมวดเคหสถาน

4.      หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5.      หมวดพาหนะ  การขนส่ง  และการสื่อสาร

6.      หมวดการบันเทิง  การอ่าน และการศึกษา

7.      หมวดยาสูบ  และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

 

                        ในแต่ละหมวดใหญ่เหล่านี้  ยังได้จำแนกออกเป็นหมวดย่อย    ได้ดังนี้

1.      หมวดอาหารและเครื่องดื่ม  จำแนกเป็น

      -     ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง

-          เนื้อสัตว์  เป็ดไก่  และสัตว์น้ำ

-          ไข่และผลิตภัณฑ์นม

                        -     ผักและผลไม้

      -     เครื่องประกอบอาหาร

      -     เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

-          อาหารสำเร็จรูป

2.   หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า

                        3.  หมวดเคหสถาน

                              -     ค่าที่พักอาศัย

                              -     ไฟฟ้า  เชื้อเพลิง  น้ำประปาและแสงสว่าง

                              -     สิ่งทอสำหรับใช้ในบ้าน

-          สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด

                        4.  หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

      -     ค่าตรวจรักษาและค่ายา

-          ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล

                        5.  หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร

      -     ค่าโดยสารสาธารณะ

                              -     ยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง

-          การสื่อสาร

                                          6.  หมวดการบันเทิง  การอ่านและการศึกษา

                               -    การบันเทิงและการอ่าน

                               -    การศึกษา

                          7.  หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

 

3.6             การเลือกรายการสินค้า

                        จากข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี   ทำให้ทราบรายการสินค้าและบริการที่ครัวเรือนดัชนีใช้จ่าย   พร้อมมีความสำคัญของแต่ละรายการสินค้าและบริการ   (โดยดูจากค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีในแต่ละรายการสินค้า)   จำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในการคำนวณแทนสินค้าและบริการทั้งหมด   หลักเกณฑ์ในการเลือกรายการสินค้า  ในทางปฏิบัติที่ไม่ใช่สินค้าและบริการ          ทุกรายการที่ครัวเรือนดัชนีใช้จ่ายมาจัดทำดัชนี   แต่จะเลือกรายการสินค้า  โดยมีวิธีการดังนี้

1.      เลือกรายการสินค้าที่มีความสำคัญ   ซึ่งข้อมูลที่คัดเลือกรายการได้มาจากการ

สำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ   โดยใช้หลักเกณฑ์การเลือกรายการสินค้าที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายของสินค้าแต่ละรายการต่อค่าใช้จ่ายรวมตั้งแต่
ร้อยละ  0.01  ของสินค้าทั้งหมด

2.      ดูแนวโน้มของสัดส่วนค่าใช้จ่ายของสินค้านั้น ๆ   เทียบกับการสำรวจที่ผ่านมา

ถ้ามีแนวโน้มมากขึ้นและคาดว่าจะมีการใช้จ่ายในสินค้ารายนี้มากขึ้น  จะคัดเลือกไว้เป็นตัวแทน

3.      สินค้าบางอย่างในขณะสำรวจอาจจะมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายน้อยแต่มีการคาดการณ์ว่า

จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในอนาคต   ก็จะมีการรวมรายการเหล่านั้นมาใช้ในการคำนวณดัชนีด้วย

4.      สินค้าที่คัดเลือกสามารถกำหนดลักษณะจำเพาะได้ชัดเจน

5.      เป็นสินค้าที่มีการซื้อขายกันอยู่ในท้องตลาดทั่วไปสามารถจัดเก็บราคาได้

6.      ในปี 2545 รายการสินค้าในหมวดต่าง ๆ ได้ปรับปรุงตามโครงสร้างของ  COICOP

 

                  การเลือกตัวอย่าง

                  ในการเลือกทำดัชนีราคาผู้บริโภค   นอกจากความถูกต้องน่าเชื่อถือแล้ว   อีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึง   คือ  ความรวดเร็วทันต่อเวลา  
การจัดเก็บราคาสินค้าทุก ๆ ชนิด ในแต่ละรายการและทุก
ท้องที่  ทุกร้าน  จะทำให้ล่าช้ามาก และเสียค่าใช้จ่ายสูง  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการคัดเลือกตัวอย่างในการจัดเก็บราคาสินค้า

                  3.7         การกำหนดลักษณะจำเพาะของสินค้า

                        จากผลการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี  และการคัดเลือกรายการสินค้า จะทำให้ทราบรายการสินค้าทุกรายการที่จะจัดเก็บราคา   แต่ก่อนที่จะให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดเก็บราคานั้นจะต้องมีการกำหนดรายละเอียดลักษณะจำเพาะของสินค้าที่จะจัดเก็บราคาให้แน่ชัดเสียก่อนเนื่องจาก

(1)     สินค้าแต่ละรายการมีมากมายหลายประเภท  เช่น  น้ำพืช  อาจจะมีน้ำมันพืช

ประเภทต่าง ๆ  เช่น น้ำมันรำ  น้ำมันปาล์ม  น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันผสม  เป็นต้น

(2)     สินค้าแต่ละประเภทมีหลายตรา  เช่น  น้ำมันปาล์ม  มีหลายตรา  เช่น ทิพ

                               มรกต  คิงส์  โพลา  เป็นต้น

(3)     สินค้าแต่ละประเภท  มีหลายขนาด  (ปริมาณ , น้ำหนัก)  แตกต่างกันไป           

(4)  สินค้าบางประเภทมีลักษณะจำเพาะเฉพาะแยกย่อยลงไปอีกมากมาย   ขึ้นกับ

      วัตถุดิบที่ใช้  สี  กลิ่น  คุณภาพ  รุ่น  หรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป

 

                  ตามวิธีการคำนวณดัชนีราคาแบบลาสแปร์   มีหลักเกณฑ์ว่า   สินค้าที่จะเก็บราคาต้องเป็นสินค้าชนิด  ขนาด  ลักษณะและตราเดียวกัน   เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบราคา   ฉะนั้นจึงต้องมีการกำหนดลักษณะจำเพาะของสินค้าแต่ละรายการให้แน่ชัดเสียก่อน   และจะจัดเก็บราคา           สินค้านั้นตลอดไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง   เช่น  รายการสินค้านั้นไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป  หรือสินค้านั้นขาดหายไปจากท้องตลาดหรือเลิกผลิต ก็จะมีการกำหนดลักษณะจำเพาะของรายการสินค้านั้น ๆ  ใหม่ 

 

                  การเลือกหรือกำหนดลักษณะจำเพาะของสินค้า  มีอยู่  2  วิธี  คือ

 

                  วิธีที่  1    วิธีการกำหนดโดยการพิจารณา

                  เป็นการกำหนดลักษณะจำเพาะของสินค้า  โดยเลือกสินค้าชนิด ขนาด  ลักษณะและตราที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในท้องตลาด วิธีนี้เป็น
วิธีที่สะดวก  ไม่ซับซ้อน  สินค้าที่ถูกคัดเลือกโดยวิธีนี้
จะเหมือนกันทุกท้องที่

 

                  วิธีที่  2    การกำหนดโดยการสุ่มทางสถิติวิธีนี้ใช้หลักสถิติในการเลือกสินค้า  โดยมีหลักว่าสินค้าแต่ละชนิดในรายการสินค้านั้นๆมีโอกาสที่จะถูกเลือกเป็นตัวแทน   แต่ด้วยความน่าจะเป็นที่ไม่เท่ากัน  ขึ้นกับปริมาณยอดขายของสินค้าแต่ละชนิดในท้องตลาด   วิธีการนี้มีความซับซ้อนกว่าแต่ไม่มีความเอนเอียง  (Unbiasness)  ในการเลือก  ขณะนี้ ในสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้าใช้วิธีการนี้

 

                  การเลือกโดยวิธีนี้ลักษณะจำเพาะของสินค้าในรายการเดียวกันอาจจะไม่เหมือนกันในแต่ละท้องที่  ขึ้นกับผลการสุ่ม  แต่มีข้อดี  คือ

                        (1) ขจัดปัญหาสินค้าขาดหาย  เพราะแน่ใจได้ว่า  สินค้าที่ถูกเลือกมีจำหน่าย

                              ในท้องที่นั้นอย่างแน่นอน

(2)   ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภควัดระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปได้ดีขึ้น   เพราะในกรณีที่กำหนดสินค้าโดยวิธีพิจารณา    ถ้าสินค้านั้นมีการเคลื่อนไหวของราคาน้อย             ก็จะทำให้ดัชนีราคาเคลื่อนไหวน้อย  ในทางตรงกันข้าม   ถ้าสินค้านั้นมีการเปลี่ยนแปลงราคามาก  จะทำให้ดัชนีราคาเคลื่อนไหวมากตามไปด้วย   แต่ในการเลือกโดยการสุ่มทางสถิติจะทำให้ได้สินค้าหลากหลาย    ซึ่งจะสะท้อนความเป็นจริงในการเคลื่อนไหวของ
ราคาสินค้าในรายการนั้นได้ดีกว่า

(3)  สามารถวัดประเมินผลความผิดพลาดในการจัดเก็บราคาสินค้าที่เกิดขึ้นได้

 

                        3.8         การกำหนดพื้นที่จัดเก็บราคาสินค้า

                        หลังจากกำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดทำดัชนี  และกำหนดลักษณะครัวเรือนดัชนีแล้วขั้นตอนต่อไปคือการคัดเลือกตัวอย่างจังหวัด
จากพื้นที่ทั้งหมด   เพื่อเป็นตัวแทนในการจัดเก็บราคา

                        ในทางปฏิบัติสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ามีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกจังหวัดเพื่อเป็นตัวแทน  ดังนี้

(1)   เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจการค้าของประเทศ หรือของภาคนั้น  เช่น 

เป็นจังหวัดท่องเที่ยว  จังหวัดที่มีการค้าชายแดน  จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตการเกษตรบางอย่างที่สำคัญ  จังหวัดที่เป็นแหล่ง
การค้าและธุรกิจ

(2)   เลือกจังหวัดขนาดเล็กที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ข้อ  1  มาบางจังหวัดเพื่อเป็นจังหวัด

ตัวอย่างด้วย   แต่ต้องเป็นจังหวัดที่มีแหล่งค้าขายซึ่งประชาชนมาจับจ่ายใช้สอย  นอกเหนือจากการบริโภคสินค้าที่ผลิตเอง
ในครัวเรือนหรือท้องถิ่น

(3)   คำนึงถึงการกระจายจังหวัดตัวอย่างทั่วภูมิภาค  และประเทศ

(4)   คำนึงถึงงบประมาณและกำลังคนที่มี

 

3.9            การกำหนดแหล่งจัดเก็บราคา

                        บางประเทศที่มีการพัฒนาการจัดทำดัชนีราคาอย่างมาก   จะมีการสำรวจร้านค้าและแหล่งขายสินค้าที่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย
นิยมไปจับจ่ายใช้สอย   เพื่อเป็นข้อมูลการกำหนดแหล่ง             จัดเก็บราคา  พร้อมกันนี้อาจจะมีการหมุนเวียนแหล่งจัดเก็บราคาเป็นระยะ    เพื่อให้การจัดเก็บราคาเป็นไปอย่างทั่วถึงและทันสมัยด้วย

 

                  หลักเกณฑ์ในการเลือกร้านค้าเพื่อจัดเก็บราคา  มีดังนี้

(1)   เป็นร้านค้าประจำ เพื่อสะดวกแก่การที่เจ้าหน้าที่จัดเก็บราคาจะสามารถจัดเก็บราคาได้ตลอดไป   หรือถ้าเป็นแผงลอยต้องเป็นแผงที่ขายเป็นประจำ

(2)   เป็นร้านค้าที่สินค้าจำหน่ายจำนวนมากและหลายชนิดที่ครอบครัวดัชนี

      ใช้บริโภค

(3)   เป็นร้านค้าที่อยู่ในย่านชุมชน  เดินทางไป – มาซื้อสินค้าได้สะดวก

(4)   เป็นร้านค้าที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมมาซื้อสินค้า

(5)   เป็นร้านค้าที่ให้ความร่วมมืออย่างดีแก่เจ้าหน้าที่ในการสอบถามข้อมูลและ

                              จัดเก็บราคา

(6)   ในแต่ละพื้นที่  จะกำหนดให้เลือกร้านค้าเพื่อจัดเก็บราคาอย่างน้อย  3  ร้านค้า 

                              รายชื่อตลาดที่จัดเก็บราคาอยู่ในภาคผนวก

 

                  3.10  การจัดเก็บราคา

                         ในการจัดเก็บราคาสินค้า   เจ้าหน้าที่จะมีแบบฟอร์มที่กำหนดรายการสินค้าและลักษณะจำเพาะ   เพื่อให้เจ้าหน้าที่จดบันทึก
ข้อมูลราคา   เจ้าหน้าที่ทุกคนจะได้รับการฝึกอบรมและมีการ
ตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ดูแลในเรื่องการจัดทำดัชนีราคาเป็นระยะ ๆ   เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลราคาที่นำมาทำดัชนีนั้นถูกต้อง   และรวดเร็วทันเวลา

                  หลักเกณฑ์ในการจัดเก็บราคาสินค้า  มีดังนี้

1.      เป็นราคาที่ซื้อขายกันโดยปกติ  ไม่ใช่ราคาที่ลดให้เป็นกรณีพิเศษ   หรือการต่อรอง

เป็นพิเศษ  หรือราคาขายเลหลังหรือราคาที่ขายลดเป็นพิเศษ  เนื่องจากเป็นวันเกิดหรือวันพิเศษของร้าน

                  2.   เป็นราคาที่ซื้อขายในปริมาณที่พอสมควรกับการใช้บริโภคในครัวเรือน ไม่ใช่ราคาที่ซื้อขายกันในปริมาณมาก ๆ

                  3.   เป็นราคาที่ซื้อขายกันจริง ๆ   ซึ่งผู้บริโภคสามารถซื้อได้และผู้ขายก็สามารถจะขายได้  ถึงแม้ผู้ขายยังไม่ได้ขายแต่พร้อมที่จะขาย
ได้ตามราคานั้น ๆ ถ้ามีการซื้อขายกันจริง ๆ

                  4.    เป็นราคาที่ซื้อขายกันด้วยเงินสด  ไม่ใช่เงินเชื่อหรือเงินผ่อน

                        5.    เป็นราคาขายสำหรับสินค้านั้นโดยเฉพาะ  ไม่รวมส่วนประกอบอย่างอื่นที่แถมให้

เป็นพิเศษ  รวมถึงค่าบริการ  ค่าขนส่ง  หรือบรรจุหีบห่อ

                  6.    เป็นราคาที่ซื้อขายกันในเวลาปัจจุบัน  ไม่ใช่ราคาย้อนหลังหรือราคาซื้อขายล่วงหน้า

                  7.  เป็นราคาที่ซื้อขายกันในเวลาปัจจุบัน  ไม่ใช่ราคาย้อนหลังหรือราคาซื้อขายล่วงหน้า

                  8.  ไม่ใช่ราคาที่ลดให้เป็นพิเศษสำหรับสมาชิก

                  9.  การเก็บราคาควรจัดเก็บตามระยะเวลาที่กำหนด  เช่น  สินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลง

ราคามาก จะให้มีการจัดเก็บราคาเป็นรายสัปดาห์ ทุก ๆ สัปดาห์ ส่วนสินค้าทั่ว ๆ ไปก็จะจัดเก็บราคาเป็นรายเดือน

                  10.  ช่วงเวลาที่จัดเก็บควรเป็นช่วงเดียวกัน   มิฉะนั้นอาจจะมีผลต่อราคาได้  เช่น  ราคา

ผักในช่วงเช้า  จะแตกต่างจากราคาผักในช่วงเย็น  เป็นต้น

                  11.       ควรพิจารณาคุณภาพของสินค้าว่าตรงตามลักษณะจำเพาะที่ตั้งไว้หรือไม่  เพราะอาจจะมีผลอย่างมากต่อราคา   เช่น   สินค้าที่มีตำหนิจะมีราคาลดกว่าปกติ

 

3.11  ค่าเช่าบ้าน

                  ในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค  ราคาค่าเช่าบ้านที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงการเคลื่อนไหวของราคา  เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าบริโภคอุปโภคอื่น ๆ   ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัย  4  ที่มีความจำเป็นต้องการดำรงชีพน้ำหนักค่าใช้จ่าย
สำหรับค่าเช่าบ้านในปี  2545  ซึ่งเป็น    ปีฐานในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศในหมวดเคหสถานคิดเป็นร้อยละ 23.86  และมีน้ำหนักของค่าเช่าบ้านประมาณร้อยละ  16.25  ของน้ำหนักทั้งหมดในการคำนวณ  ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาปัจจัยที่กำหนดราคาในรายการดังกล่าวให้ชัดเจนและถูกต้อง  นอกจากนี้ พฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของ
ประชากรในเมืองใหญ่ ๆ  มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากเดิม 
ประชากรที่เคยเช่าบ้านเพื่ออยู่อาศัย  ก็เปลี่ยนมาเป็นการเช่าห้องชุด  ได้แก่  
อพาร์ทเม้นส์  คอนโดมิเนียม
  และแบบชั้นมากขึ้น  ฉะนั้น  ในการจัดทำค่าเช่าบ้านจะมีสำรวจและพัฒนาใหม่ประมาณ  4 – 5  ปี  ต่อครั้ง

 

                  วิธีการจัดทำตัวอย่างบ้านเช่า

1.      การกำหนดขอบเขตของพื้นที่บ้านเช่า

-     กรุงเทพมหานครและปริมณฑล    เขตในกรุงเทพมีทั้งหมด  52  เขต  ในการ

สำรวจจะเลือกตัวอย่างโดยวิธีพิจารณาเขตที่เหมาะสมให้มีการกระจายครอบคลุมทั้งที่กรุงเทพมหานคร  แบ่งออกเป็น  3  กลุ่ม  16  เขต  ดังนี้

ก.      เขตชั้นนอก  จำนวน  7  เขต  คือ เขตบางกะปิ  วังทองหลาง   ลาดพร้าว 
                                    ดอนเมือง  หลักสี่  พระโขนง  และบางนา
ข.      เขตชั้นใน  จำนวน  5  เขต  คือ  เขตจตุจักร  บางคอแหลม  ยานนาวา  ห้วยขวาง 
                                    และดุสิต
ค.      เขตฝั่งธนบุรี  จำนวน  4  เขต  คือ  เขตจอมทอง  ภาษีเจริญ  บางพลัด  ธนบุรี

 

               สำหรับปริมณฑลทางประกอบด้วย  3  จังหวัด  คือ  นนทบุรี  ปทุมธานี  และสมุทรปราการ

 

                   2.  ส่วนภูมิภาค  แบ่งออกเป็น  4  ภาค  รวม  33  จังหวัด   โดยใช้ตัวอย่างจังหวัดที่เป็นแหล่งจัดเก็บราคาสินค้าสำหรับการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคเพื่อให้แบบแผนการค่าใช้จ่าย       สอดคล้องกัน  คือ

 

ก.      ภาคกลาง   10   จังหวัด   ได้แก่   ชลบุรี   ราชบุรี   ระยอง   จันทบุรี  ปราจีนบุรี
สุพรรณบุรี  พระนครศรีอยุธยา  ลพบุรี  สิงห์บุรี  เพชรบุรี
ข.      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  7  จังหวัด  ได้แก่  อุบลราชธานี  ขอนแก่น 

                                    นครราชสีมา  หนองคาย  สุรินทร์   ศรีสะเกษ  และมุกดาหาร

ค.      ภาคเหนือ  8  จังหวัด  ได้แก่  เชียงใหม่   นครสวรรค์   พิษณุโลก  เชียงราย

                                    ตาก  อุตรดิตถ์   เพชรบูรณ์  และแพร่

                              .    ภาคใต้  8  จังหวัด  ได้แก่  สงขลา   สุราษฎร์ธานี  นครศรีธรรมราช 

                                    นราธิวาส  ยะลา   ตรัง   กระบี่   และภูเก็ต

3.12       การคำนวณดัชนีราคา

                           การคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค คือ การหาสัดส่วน  ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า    (ในตะกร้าสินค้าที่กำหนด)  ตามราคาสินค้า
ของเดือนปัจจุบัน  (เดือนที่คำนวณดัชนี)  เทียบกับค่าใช้จ่าย
ในการซื้อสินค้า (ในตะกร้าสินค้านั้น)    ปีฐาน

                           สูตรที่ใช้คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคปัจจุบันใช้สูตรของ ลาสแปร์  (Laspeyres  Formula)   ซึ่งได้ดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสำหรับการคำนวณวัดความเคลื่อนไหวของราคาสินค้า                      เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่กำหนดไว้    และสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อของราคา    เนื่องจากการสับเปลี่ยนสินค้า เปลี่ยนลักษณะคุณภาพจำเพาะใหม่เพิ่มรายการคำนวณ
หรือตัดรายการคำนวณ   สูตรนี้ได้แก่

 

 

S            

 
                                                                               Pt     x Pt –1Q0

x  1 t-1

 

I t    =

 
                                                                                         Pt –1                                              

                                           
S    Pt –1Q0                                                    

                                                I t          =    ดัชนีราคา    เวลา t  (ปัจจุบัน)

                                                I t-1         =    ดัชนีราคา ณ  เดือนที่ผ่านมา  ( t-1)

                                                Pt            =    ราคาสินค้า ณ  เวลา t  (ปัจจุบัน)

                                                Pt-1         =    ราคาสินค้า ณ  เดือนที่ผ่านมา  (t-1)

                                                Pt –1Q0             =    ค่าใช้จ่ายหรือน้ำหนักแต่ละรายการ ณ  เวลาปัจจุบัน

                                                Pt  Q0    =    ค่าใช้จ่ายหรือน้ำหนักแต่ละรายการ ณ  ปีฐาน

 

4.  การรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค

                     สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้าจะเผยแพร่ และรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทุก ๆ เดือน การรายงานการเคลื่อนไหวของดัชนีราคามักจะเปรียบเทียบในรูปของร้อยละมากกว่าที่จะเปรียบเทียบตัวเลขของดัชนีราคาโดยตรง

            ตัวอย่าง :  ดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือนมกราคม  2548  เท่ากับ  105.4

                           ดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือนธันวาคม  2547  เท่ากับ  105.3

                        การเปรียบเทียบตัวเลขโดยตรง  เท่ากับ  105.4 – 105.3 = 0.1

หมายความว่า  ดัชนีราคาของเดือนมกราคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน  0.1

                        การคำนวณการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาในรูปของร้อยละ จะมีการเปรียบเทียบอยู่ 4  ลักษณะ  คือ

x 100 – 100

 

 
                        (1) การคำนวณอัตราเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาเดือนปัจจุบันเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เช่น อัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภค
ของเดือนมกราคม  2548  เทียบกับเดือนธันวาคม 2547  มีวิธีการคำนวณ  ดังนี้

อัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนี       =  ดัชนีเดือน มค. 48                                                                      

                                                 ดัชนีเดือน ธค. 47

x 100 – 100

 

 
                                                         =    105.4 

                                                               105.3        

                                                         =      0.1

หมายความว่า       ราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2548 เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยใน

                        เดือนธันวาคม 2547  ร้อยละ  0.1

 

                        (2) การคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงจุดต่อจุดในรอบ  12 เดือน เช่นอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภค 
ของเดือนมกราคม 2548  เทียบกับเดือนมกราคม 2547   ซึ่งมีค่าดัชนีราคาเท่ากับ  102.6  มีวิธีการคำนวณ  ดังนี้

                                                                                                        

x 100       – 100

 

 
อัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนี       =   ดัชนีเดือน มค. 48                                                                 

                                                    ดัชนีเดือน มค. 47

 

x 100 – 100

 

 
                                              =    105.4    

                                                                            102.6

                                                                      =     2.7

 

หมายความว่า             ในรอบ  12 เดือนที่ผ่านมา  (มกราคม  2547 – มกราคม  2548)  ราคาสินค้า

                        โดยเฉลี่ย   หรือดัชนีราคาผู้บริโภคสูงขึ้นร้อยละ  2.7

 

                        (3) การคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยทั้งปี  เช่น  อัตราเงินเฟ้อปี  2547   เทียบกับปี 2546   มีวิธีการคำนวณ  ดังนี้

 

คำนวณดัชนีราคาเฉลี่ยทั้งปี  ของปี  2547

ดัชนีราคาเฉลี่ยปี  2547  =  ดัชนีราคาปี  2547  ของเดือนมค. + กพ. + …+ธค.

                                                                    12

 

คำนวณดัชนีราคาเฉลี่ยทั้งปี ของปี  2546

ดัชนีราคาเฉลี่ยปี  2546  =   ดัชนีราคาปี  2546  ของเดือน มค.+กพ.+ … +ธค.

                                                                                           12

           

x 100     – 100

 

 
 คำนวณอัตราเปลี่ยนแปลง

                         อัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภค             =     ดัชนีเฉลี่ยปี 2547                                                                                                         

       ดัชนีเฉลี่ยปี 2546

x 100     – 100

 

 
                       

=    104.6  

                                                                                          101.8      

                       

                                                                                    =    2.7

 

หมายความว่า       ช่วงเดือนมกราคม – ธันวาคม  2547  ราคาสินค้า  โดยเฉลี่ยสูงขึ้นจากช่วงเดือน

                        มกราคม – ธันวาคม  2546  ร้อยละ  2.7  หรือ  หมายความว่า  ในปี  2547  ถ้าต้องการ

                        ซื้อสินค้าและบริการที่เคยบริโภคในปี 2546  ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ  2.7

 

5.  ประโยชน์ของดัชนีราคาผู้บริโภค

 

                  ประโยชน์ของดัชนีราคาผู้บริโภค  มีดังนี้  คือ

                  1.   ใช้วัดอัตราเงินเฟ้อของประเทศ

                        2.   ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาในการวางนโยบาย แผน  และประเมินผลกระทบ

ของนโยบาย และแผนต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ

                  3.   ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาประกอบการปรับค่าจ้าง  เงินเดือนของราชการและเอกชน

                  4.   ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาในการกำหนดเงินบำนาญ  และเงินช่วยเหลือหรือ

สวัสดิการในรูปต่าง ๆ

5.   ใช้ในการประเมินรายรับที่ควรจะเป็นในการทำสัญญาระยะยาว  เช่น  สัญญาซื้อขาย

ในระยะยาว

                  6.   ใช้เป็นแนวทางในการวิจัย  พยากรณ์การตลาด  และราคาสินค้าต่าง ๆ

                        7.   ใช้ในการหาค่าของเงินหรือมูลค่าที่แท้จริง

8.    ใช้ในการปรับราคาในการจัดทำ GDP

 

             

                        การคำนวณค่าของเงินที่แท้จริง

x   ดัชนีในเวลาอ้างอิง

 

 
          ค่าของเงินที่แท้จริงในเวลาใด ๆ    =         จำนวนเงินในเวลาใด ๆ      

        เทียบเท่ากับค่าของเงินในเวลาอ้างอิง             ดัชนีในเวลาใด ๆ

 

                        ตัวอย่าง   ดัชนีราคาผู้บริโภคของปี  2547  เท่ากับ 104.6  ดัชนีราคาของปี   2545 
เท่ากับ  100  เงิน  100  บาท  ในปี  2547  จะมีมูลค่าที่แท้จริงเท่าใดเทียบค่าเงินในปี  2545

 

x   100

 

 
                  ค่าของเงินที่แท้จริงของเงิน  100  บาท  ในปี  2547    =    100   

                  เทียบเท่ากับค่าของเงินในปี  2545                                   104.6   

                                                                                            =   95.60   บาท

 

6.  ข้อจำกัดของดัชนีราคาผู้บริโภค

 

                  ถึงแม้ดัชนีราคาผู้บริโภคจะใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน แต่ก็มีข้อจำกัดในการนำมาใช้ และแปลผล  คือ

 

                  6.1 ดัชนีราคาผู้บริโภคไม่สามารถตอบคำถามต่าง ๆ    เกี่ยวกับราคาของผู้บริโภคในทุก ๆ

กลุ่มได้  เช่น  ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะแสดงถึงการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าในกลุ่มที่ผู้บริโภครายได้ปานกลางใน
เขตเทศบาลใช้บริโภคเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงสินค้าฟุ่มเฟื่อย   หรือสินค้าในกลุ่มที่ผู้
บริโภคที่รายได้สูงใช้บริโภค

 

                  6.2 การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นตัวเลขที่แสดงการเปลี่ยนแปลงราคา

สินค้าโดยเฉลี่ย   อาจจะมีสินค้าในตะกร้าสินค้าบางตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าหรือน้อยกว่าดัชนีราคาในแต่ละเดือนก็ได้  

 

6.3 ดัชนีราคาผู้บริโภค  ไม่สามารถใช้เปรียบเทียบค่าครองชีพ  หรือราคาสินค้าระหว่าง

ท้องถิ่นได้  ยกตัวอย่าง  เช่น  ดัชนีราคาผู้บริโภคภาคเหนือเท่ากับ  131.5  ขณะที่ดัชนีราคาภาคกลางเท่ากับ  135.4   เราไม่สามารถ
สรุปจากข้อมูลนี้ได้ว่า  ราคาสินค้าของภาคเหนือถูกกว่า  ภาคกลาง                  ทั้ง
นี้ดัชนีราคาผู้บริโภคแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงราคา  
โดยเฉลี่ยของสินค้าต่าง ๆ  ในแต่ละพื้นที่             แต่เราไม่สามารถทราบได้จากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคว่า   ราคาสินค้าในแต่ละพื้นที่
เี่ป็นเท่าใด           ในทำนองเดียวกัน   ถึงแม้ว่าในท้องถิ่นที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคามากกว่าอีกท้องที่หนึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า  ในท้องถิ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาสูงนั้นมีราคาสินค้าสูงกว่า

6.4 การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค  ใช้การเลือกตัวอย่างมาเพื่อประมาณค่าการเปลี่ยนแปลง

ราคาสินค้าที่เกิดขึ้นจริง ๆ  ฉะนั้น  อาจจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจากการเลือกตัวอย่าง  หรือการจัดเก็บราคาได้  แต่ในทางปฏิบัติ 
สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า  ได้มีการตรวจสอบ  และตรวจตรา  พร้อมทั้งปรับปรุงวิธีการต่าง ๆ  ตลอดเวลา   เพื่อให้ดัชนีราคาผู้บริโภคประมาณค่าการเปลี่ยนแปลงราคา                ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ได้ใกล้เคียงที่สุดนั้น

 

                  ผู้ที่ใช้ข้อมูลราคาดัชนีราคาผู้บริโภค   ควรจะทราบและคำนึงถึงข้อจำกัดของดัชนีราคา ผู้บริโภคด้วย

 

7.  ภาวะเงินเฟ้อ

 

                  ภาวะเงินเฟ้อเป็นภาวะทางเศรษฐกิจที่ค่าของเงินลดลงเนื่องจากราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จึงได้ใช้การเปลี่ยนแปลงราคาเฉลี่ยเป็นเครื่องชี้ความรุนแรงของภาวะเงินเฟ้อ  หากราคาเฉลี่ยสูงขึ้นเพียงครั้งเดียวและไม่ต่อเนื่อง 
ก็จะไม่เรียกว่าประเทศมีภาวะเงินเฟ้อ  แต่ถ้าราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และอัตราการเปลี่ยนสูงก็จะถือว่าภาวะเงินเฟ้อมีความรุนแรง

 

                 สาเหตุของภาวะเงินเฟ้อ

 

                  ในทางทฤษฎี  เมื่อนักเศรษฐศาสตร์  กล่าวถึง  “ภาวะ”   เงินเฟ้อ  ก็มักจะหมายถึงช่วงเวลาที่ค่อนข้างยาว  เช่น  1 ปี  หรือ  6 เดือน  จึงมักจะกล่าวว่าสาเหตุสำคัญก็คือ  เศรษฐกิจรวม                         มีปริมาณเงินมากกว่าปริมาณสินค้าและบริการในช่วงเวลาเดียวกันนั้น   เมื่อเงินหมุนเวียนในระบบ         มีมากกว่าปริมาณสินค้าและบริการ   ก็จะฉุดให้ระดับราคาโดยทั่วไปสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาดังกล่าว  เพราะปริมาณสินค้าและบริการไม่สามารถขยายตัวได้เร็วเท่ากับการขยายตัวของปริมาณเงินที่ถือโดยสาธารณชน   ดังนั้นในทางเศรษฐศาสตร์การเยียวยาแก้ไขภาวะเงินเฟ้อจึงเป็นเรื่องของ           การใช้มาตรการทางการเงินและการคลังที่เหมาะสม

 

                  แต่ในทางปฏิบัติหรือในชีวิตประจำวันทั่วไปได้มีการติดตามภาวะเงินเฟ้อในระยะสั้น  เช่น  เดือนต่อเดือน  ดังนั้น  จึงมีการอธิบายสาเหตุของภาวะเงินเฟ้ออย่างง่าย ๆ  ว่ามีสาเหตุ   3  ประการ

 

                  7.1 ความต้องการสินค้าและบริการสูง    มากกว่าการขยายตัวของปริมาณสินค้าและการบริการที่มีอยู่

 

                        โดยปกติแล้ว  เมื่อรายได้สูงขึ้นความต้องการสินค้าก็จะสูงขึ้น  และราคาโดยทั่วไปก็จะสูงขึ้น  ซึ่งจะฉุดให้การผลิตขยายตัว
เพื่อสนองความต้องการนั้น  และในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด  หากการผลิตในประเทศขยายตัวไม่ทัน  ก็จะมีการนำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามา
จากต่างประเทศเพื่อให้พอใช้   ก็จะเป็นการผ่อนปรนไม่ให้ภาวะเงินเฟ้อยาวนาน

                     ในทางตรงกันข้าม  หากการผลิตขยายตัวช้า  ภาษีศุลกากรสูง  ต้นทุนการนำเข้าสูงภาวะเงินเฟ้อก็จะยาวนาน

                        ทั้งนี้ รายได้รวมของประเทศอาจสูงขึ้นจนความต้องการสูงขึ้นได้เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว 
การลงทุนมากขึ้น  การส่งออกมากขึ้น  การขึ้นเงินเดือนเป็นต้น

 

                  7.2 ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                        ถ้าต้นทุนสูง  และอุตสาหกรรมอยู่ในภาวะที่แข่งขันกันจนกำไรที่ผู้ประกอบการได้รับ  เป็นกำไรปกติ  ผู้ผลิตต้องเพิ่มราคาจึงจะอยู่ได้  แม้ว่าการเพิ่มราคานี้โดยทั่วไปมักจะเป็นการเพิ่ม ครั้งเดียว  แต่มักจะกระทบกับอุตสาหกรรมอื่น  จนมีการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างต่อเนื่องได้เช่นกัน   ดังนั้นภาวะเงินเฟ้อเมื่อมองในระยะสั้นจึงค่อนข้างจะเห็นว่ามาจากต้นทุนที่สูงขึ้น   แต่ในระยะยาว       โดยทั่วไปเป็นการที่ความต้องการสูงตามสาเหตุ
ในข้อ  2.1  มากกว่า

                        ทั้งนี้  ต้นทุนการผลิตอาจจะสูงขึ้น  เนื่องจากราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย  คือ  ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น  การปรับค่าแรง  ราคาวัตถุดิบจากต่างประเทศสูงขึ้น   หรือภาษีศุลกากรสูงขึ้น  ก็จะทำให้ต้นทุนการนำเข้าและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

 

                   7.3  ผลทางด้านจิตวิทยา

                        เมื่อมีข่าวว่าสินค้าจะขาดแคลน  หรือจะเกิดภาวะเงินเฟ้อ  ก็จะมีการกักตุน  หรือเร่งขึ้นราคาก่อนหน้า  ที่จะเกิดความจำเป็น  เพราะพ่อค้าและผู้ผลิตคาดว่าอำนาจซื้อจะลดลงเนื่องจากภาวะ   เงินเฟ้อ   จึงต้องเพิ่มอำนาจซื้อ  นอกจากนี้การดำเนินนโยบายที่รุนแรง   ก็ทำให้สาธารณชนเกิดความตระหนกและก่อปฏิกิริยา  ที่ทำให้ภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นไปกว่าที่ควร 

 

********************